Innovative Healthcare

เจาะลึกเทรนด์นวัตกรรมการแพทย์ อัปเดตกระแสการดูแลสุขภาพ

ประสิทธิภาพ vs ความเสี่ยง ของวัคซีน COVID-19 สำหรับเด็ก

โพสต์เมื่อ 7 ธันวาคม 2564

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการฉีดวัคซีน COVID-19 ของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคให้กับเด็กอายุ 5 - 11 ปี และมีแผนเริ่มดำเนินการฉีดทันที ซึ่งจะทำให้เด็กในกลุ่มนี้สามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ คาดว่าอีกไม่นานเด็กไทยในกลุ่มอายุนี้ก็มีโอกาสที่จะได้รับวัคซีนเช่นกัน หลังจากมีการฉีดให้กับเด็กอายุ 12 - 18 ปีไปแล้ว

อ่านต่อ >>

เปิดตำรับยา COVID-19 ทางเลือกไหนจริง ไหนหลอก ? 

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

จากแนวทางเวชปฏิบัติจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขฉบับปรับปรุงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว แพทย์สามารถวินิจฉัยให้ดำเนินการ Home Isolation ได้ โดยหากกรณีที่มีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ มีไข้เกิน 37.5 องศา ให้เริ่มพิจารณาใช้ยาต้านไวรัส Favipiravir ทันที อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณการใช้ยาต้านไวรัสตอนนี้อยู่ที่วันละ 1 ล้านเม็ด ต่อ จำนวนผู้ป่วย 20,000 คน ต่อ วัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 30 ล้านเม็ด

อ่านต่อ >>

มิติใหม่แห่งการรักษาในยุค IoMT

โพสต์เมื่อ 26 เมษายน 2567

ในปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่ถูกขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆทางการแพทย์ นอกจากนั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ หรือที่เรียกว่า Non-communicable Diseases (NCD) อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดชนิดต่างๆ ยังส่งผลให้การรักษาพยาบาลถูกประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ในอนาคตหรือที่เราเรียกว่า Internet of Medical Things (IoMT)

อ่านต่อ >>

พลิกโฉมการหาหมอ ด้วยแพลตฟอร์ม Telemedicine

โพสต์เมื่อ 31 สิงหาคม 2564

ธุรกิจ Telemedicine หรือ ผู้ให้บริการหาหมอจากทางไกลผ่านระบบ Video Conference ถือเป็นธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ (Innovative Healthcare) กลุ่มหนึ่งที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดท่ามกลางวิกฤต COVID-19 โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา ตลาด Telemedicine ทั่วโลกเติบโตขึ้นถึง 35% สวนทางกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในขณะที่ Penetration Rate ของตลาด Telemedicine ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐฯ นั้น ก็ได้พุ่งสูงขึ้นจาก 0.24% ในช่วงต้นปี 2020 ขึ้นมามีสัดส่วนเป็น 7% ของการพบแพทย์ทั้งหมดภายในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี

อ่านต่อ >>

เปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นพร้อมเพิ่มความมั่งคั่งด้วย Genomics ETF

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

มีอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็น Blockchain หรือ AI หนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมการแพทย์เช่นกัน คือ Genomics ในปี ค.ศ.1990 นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ก่อตั้งโครงการ Genome Project เป็นครั้งแรก เพื่อศึกษาการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA Sequencing) ซึ่งในช่วงเวลานั้นต้องใช้ระยะเวลากว่า 13 ปี พร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของคนเพียง 1 คน

อ่านต่อ >>

mRNA Vaccines, New S-curve of Healthcare Industry

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

ในปี ค.ศ. 1796 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ Edward Jenner ได้สร้างวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ ซึ่งถือว่าเป็นวัคซีนชนิดแรกของโลก โดยมีวิธีคือการนำเชื้อไวรัสที่ตายแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งวัคซีนเชื้อตายนั้นเป็นวัคซีนที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาตลอด 200 ปี

อ่านต่อ >>

Innovative Health จุดก้าวกระโดดแห่งวงการ Healthcare

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกาคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (17.8% ต่อ GDP) กว่า 90% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพถูกจ่ายไปกับการรักษาโรคเรื้อรังและการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ทำให้นโยบายต่างๆ นั้น จะเน้นให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในต้นทุนที่ต่ำลง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันเมื่อนำมาผนวกกับวงการการแพทย์ ทำให้การแพทย์แบบดั้งเดิมถูกปฏิวัติและก่อให้เกิดเป็นการแพทย์ในยุคใหม่ที่เรียกว่า “Innovative Healthcare” ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจแตกต่างกับอุตสาหกรรมการแพทย์แบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการรักษา การวินิจฉัย เครื่องมือและอุปกรณ์ ไปจนถึงแนวคิดการยึดคนไข้เป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงการป้องกันล่วงหน้า ไม่ใช่เพียงแค่การรักษาตามอาการ จะเห็นได้ว่า Innovative Healthcare นั้นเข้ามาแก้ไขข้อจำกัดแบบเดิม คือ เข้าถึงยาก ราคาแพง และที่สำคัญคืออาการบาดเจ็บจากการรักษา

อ่านต่อ >>

ไขกระดูกปลอดภัย หลังการรักษามะเร็งด้วย Cosela

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

ในปี 2020 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงถึง 10 ล้านราย และชนิดของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่สุดคือ โรคมะเร็งปอด (1.8 ล้านราย) และโรงมะเร็งลำไส้ใหญ่ (9.35 แสนราย) ตามลำดับ แม้ปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งในหลายวิธีด้วยกัน แต่การรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า คีโม ยังถูกใช้เป็นวิธีการหลักในการรักษา ด้วยตัวเลขการรักษาผู้ป่วยในสหรัฐฯ กว่า 1 ล้านรายในแต่ละปี

อ่านต่อ >>

Multi-Cancer Screening นวัตกรรมรักษามะเร็งเปลี่ยนโลก

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

“เมื่อเอาชนะโควิดได้แล้ว เราจะทำทุกวิถีทาง เพื่อจัดการกับโรคมะเร็ง” คำกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่แสดงถึงความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็ง โรคร้ายแรงซึ่งได้พรากชีวิตลูกชายของเขาให้จากไปก่อนวัยอันควรในวัยเพียง 46 ปีและยังเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของคนอเมริกันกว่า 6 แสนรายในแต่ละปี

อ่านต่อ >>

Genomic Revolution: Opportunities of Futures

โพสต์เมื่อ 18 สิงหาคม 2564

รู้หรือไม่? ร่างกายของมนุษย์แต่ละรายนั้นมีรหัสทางพันธุกรรมกว่า 99.9% ที่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างกันเพียงไม่ถึง 0.1% นี้ ทำให้แต่ละคนมีรูปร่าง สีผิว สีผม และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้เอง ทำให้คนบางคนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือการเกิดโรคได้มากกว่าคนอื่นที่เรียกกันว่า “โรคทางพันธุกรรม” อาทิ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางประเภท โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น

อ่านต่อ >>