ภาวะโลกร้อนรุนแรง ผลผลิตการเกษตรหดตัว กระทบเงินเฟ้อ

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 66 | คอลัมน์ Smart Investing

file

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) ของสหรัฐฯ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรง (Strong El Nino) ขึ้นในช่วงปลายปีนี้จนถึงช่วงต้นปีหน้า ซึ่งทำให้เกิดภาวะความกังวลต่อปริมาณฝนตก และปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บที่ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในระยะข้างหน้า 

ผลผลิตการเกษตรจะเสียหาย 0.1–0.6% ของ GDP

ศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (CWEIR) ได้คาดการณ์ว่าปริมาณฝนตกในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำในเขื่อนหลัก 4 แห่ง (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) จะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2023-2025F ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับช่วงปี 2014 - 2016 ที่เคยเกิดภาวะภัยแล้งที่รุนแรง โดยปริมาณผลผลิตการเกษตรหดตัวราว 10 - 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี แม้ผลผลิตจะปรับลดลง แต่ราคาผลผลิตการเกษตรได้รับแรงกดดันในช่วงเวลาดังกล่าวจากการปรับลดลงอย่างรุนแรงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

file

สำหรับในปี 2023-2025F เราคาดว่าหากเกิดสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงดังข้างต้น จะส่งผลให้เกิดความเสียหายของผลผลิตการเกษตรราว 0.1 - 0.6% ของ GDP ซึ่งจะกระทบต่อกำลังซื้อของเกษตรกร อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้นั้นน่าจะจำกัด เนื่องจากมีปริมาณน้ำต้นทุนเดิมจากปีก่อนอยู่มาก แม้คาดว่าปริมาณฝนตกจะลดลง

file
file

ขณะที่ด้านเงินเฟ้อพบว่า การส่งผ่านของภาวะภัยแล้งมายังอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 0.13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อิงจากงานศึกษาของ ธปท. นอกจากนี้ ยังต้องติดตามว่าปริมาณน้ำจะมีเพียงพอในการอุปโภคและบริโภคในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่มีการใช้น้ำในปริมาณมากในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ (เช่น ธุรกิจภัตตาคารและธุรกิจโรงแรม เป็นต้น) ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามต่อไป โดยเฉพาะในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้า

file