file

“วุฒิพล หวั่งหลี” ผู้พลิกฟื้นและสานต่ออาณาจักรค้าข้าว ระดับท็อปของประเทศ

นิตยสาร Trust ฉบับที่ 41 | คอลัมน์ New Generation

ผู้บริหารหนุ่มบุคลิกสมาร์ทวัย 40 ปี “คุณพล-วุฒิพล หวั่งหลี” เขาคือ ทายาทรุ่นที่ 5 ของตระกูล “หวั่งหลี” ที่ขันอาสาเข้ามารับช่วงต่อการทำงาน จากบิดา จากนั้นเปลี่ยนเป็นความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะผลักดันกิจการ ค้าข้าว “ชัยทิพย์” ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวภายใต้แบรนด์ “พนมรุ้ง” ให้เป็นหนึ่งในใจคู่ค้าและผู้บริโภค โดยยึดมั่นปรัชญา “ความซื่อสัตย์” เป็นหัวใจในการทำธุรกิจ

เริ่มต้น พบวิกฤติ ผ่านพ้นอุปสรรค

ก่อนจะเป็นบริษัท ชัยทิพย์ จำกัด ผู้ส่งออก ข้าวรายใหญ่ของประเทศ กิจการค้าข้าว ส่งออกไปยังต่างประเทศแห่งนี้เริ่มก่อร่าง สร้างตัวจากคนในตระกูลหวั่งหลีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้ง สำคัญ เมื่อ “คุณวุฒิชัย หวั่งหลี” ผู้รับช่วงต่อ กิจการ ตัดสินใจนำกิจการค้าข้าวออกจาก ธุรกิจ “กงสี” ของตระกูล มาบริหารจัดการ ด้วยตนเองในปี พ.ศ. 2531 พร้อมขยายกิจการ ให้รุ่งเรือง และสร้างการเติบโต มั่นคง เป็น ปึกแผ่นจนถึงทุกวันนี้

เวลาผันผ่าน การเดินทางของทายาทรุ่นที่ 5 ก็มาถึง เมื่อสองพี่น้อง “คุณวิพุธ หวั่งหลี” และ คุณวุฒิพล หวั่งหลี บุตรชายของคุณวุฒิชัย หวั่งหลี ตัดสินใจรับ ‘ไม้ต่อ’ ดูแลกิจการที่มี ประวัติค้าข้าวมานานนับ 140 กว่าปี ต่อจาก บิดา โดยคนน้องอย่างคุณวุฒิพล รับหน้าที่ ดูแลหัวใจสำคัญของธุรกิจด้านการบริหาร จัดการภายในองค์กร วางแผนจัดซื้อ บริหาร ความเสี่ยง รับผิดชอบโรงงาน และช่วยดูแล ภาพรวมของธุรกิจ จวบจนวันนี้เป็นเวลา 13 ปีแล้ว

คุณวุฒิพล เล่าถึงช่วงเวลาเริ่มต้นที่เข้า มาบริหารจัดการธุรกิจว่าเป็นช่วงการสร้าง โรงงานใหม่ของบริษัทให้สามารถเพิ่มกำลัง การผลิตได้ 5-6 เท่า เขาจึงยินดีดูแลด้าน โรงงานและจัดซื้อโดยตรง ซึ่งต้องคลุกคลีกับ สถานการณ์ข้าวในตลาดอย่างใกล้ชิด ภารกิจ หลักของเขาคือการวิเคราะห์อุปสงค์อุปทาน ของตลาดข้าวในแต่ละปี ดูกราฟแนวโน้มราคา ในแต่ละช่วง ตลอดจนวิเคราะห์คำสั่งซื้อของ ลูกค้าในอดีต เพื่อนำมาแปลงเป็นข้อมูลในการ ตัดสินใจซื้อข้าวในปริมาณเท่าใด ราคาเท่าไร และเวลาใด อีกทั้งทายาทหนุ่มคนนี้ยังต้อง ดูแลกระแสเงินสดและสินค้าคงคลังของบริษัท รวมทั้งบริหารจัดการโรงงานเพื่อผลิตสินค้า ที่ดีมีคุณภาพสูงตามที่ลูกค้าต้องการ ตลอดจน ดูแลเครื่องจักรให้ได้รับการซ่อมบำรุง สม่ำเสมอ

 

“เส้นทางธุรกิจตลอด 13 ปีของผมไม่ได้ราบรื่นโรยด้วย กลีบกุหลาบ เราเกือบจะต้องขายบริษัทเพราะขาดทุน แต่สุดท้ายก็ฝ่าฟันอุปสรรคมาได้ ถือว่าเป็นประสบการณ์ ล้ำค่า และเป็นความสำเร็จส่วนตัวของผมและพี่ชาย (วิพุธ) ที่สามารถผ่านพ้นวิกฤตินั้นมาได้”

 

“ยอมรับว่าผมไม่มีความรู้ในเรื่องโรงงาน มาก่อนเลย เพราะเรียนจบด้านธุรกิจมา แต่ พยายามไขว่คว้าหาความรู้จากการอ่านหนังสือ มาโดยตลอด โดยด้านระบบการบริหารจัดการ โรงงานเราสามารถนำความรู้มาปรับปรุงใช้ได้จริง ช่วยลดเวลาและขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ และสามารถลดการสูญเสียจากการผลิตได้จริง ขณะที่ด้านการซ่อมบำรุงในช่วงแรกผมอาจ ไม่ได้สนใจนักเพราะเครื่องจักรยังใหม่ไม่ค่อย เสียหาย แต่เวลาต่อมาผมเริ่มใส่ใจและ ให้ความสำคัญ เพื่อให้ทุกขั้นตอนการผลิต สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น”

นอกจากนี้ คุณวุฒิพลยังย้ำว่า ขั้นตอน การทำงานต้องผ่านการรับรองคุณภาพด้วย มาตรฐานอุตสาหกรรม อย่าง GMP, HACCP, HALAL, BRC และล่าสุด AQSIQ จากประเทศ จีนซึ่งทำให้บริษัทสามารถส่งออกข้าวไปยัง ประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ได้มากขึ้น ใน ขณะที่หลายบริษัทต้องเผชิญกับวิกฤติเมื่อ ไม่ผ่านมาตรฐาน AQSIQ นี้ นั่นทำให้เขารู้สึก ภูมิใจที่สามารถผ่านมาตรฐานทั้งหมดนั้นได้ เพราะนั่นหมายถึงการเพิ่มศักยภาพการ แข่งขันในการส่งออกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ ของโรงงานที่จะสนับสนุนให้ฝ่ายขาย ขายข้าว ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ผ่านมาเพียง 3 ปีหลังจากรับตำแหน่งงาน ที่หนักหน่วงและพยายามจัดการให้ลุล่วงไป เขากลับต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติใหญ่หลวง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภายนอกและปัญหาจาก การบริหารจัดการภายในองค์กรเอง จนทำให้ ธุรกิจเข้าใกล้คำว่า “ล้มละลาย” อาจต้องขาย สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อนำมาต่อลมหายใจเฮือก สุดท้ายให้ได้ แต่ด้วยแนวคิดที่ทรงพลังของ สองพี่น้อง จึงทำให้เกิดจุดเปลี่ยน คุณวุฒิพล เล่าว่า พอถึงจุดนั้นผ้บู ริหารต้องเปลี่ยนแนวคิด เน้นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการประสานงานกัน ในทีม ใส่ทักษะ “ทีมเวิร์ก” เข้าไป ระดมสมอง พูดคุย และแชร์ข้อมูลกันให้มากที่สุด เร็วที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องตอบสนองตลาดให้เร็วทั้ง ราคาข้าวและลูกค้า นับเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด และกลายเป็นช่วงเวลาที่มอบประสบการณ์ และความภาคภูมิใจในชีวิตพร้อมๆ กัน

 

Bootstrap Image Preview
 

 

วิสัยทัศน์นักบริหารกับการมุ่งสู่เป้าหมาย

เมื่อพูดถึงปรัชญาในการทำงานมาตลอด 13 ปี นักธุรกิจหนุ่มเล่าว่า ผู้บริหารต้องให้ ความเคารพกับงานที่ทำ ให้ความสำคัญและ ใส่ใจกับงานนั้นๆ อย่างเต็มที่ ซึ่งหลายคน มักคิดว่าการเข้ามาทำธุรกิจครอบครัว ไม่มีความ ท้าทาย จึงอยากออกไปสู่โลกกว้าง สร้างธุรกิจ ใหม่ด้วยตัวเอง ในทางกลับกัน หากเราให้ ความสำคัญกับงานของเราจะเห็นได้ว่าทุกงาน มีความท้าทาย เวลาเราให้ความใส่ใจเต็มร้อย กับงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ผลลัพธ์ ย่อมออกมาน่ายินดีเสมอ และแนวคิดที่ต้อง ยึดถือไว้เสมอก็คือ “อย่าประมาท” ต้องเรียนรู้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ย้ำเตือนให้เดิน แต่ละก้าวอย่างมั่นคง และพยายามบริหาร ความเสี่ยงอยู่เสมอ

“หากถามถึงความท้าทายในธุรกิจค้าข้าว ผมคิดว่ามีเสน่ห์ของมันเองนะ เหมือนตลาดหุ้น มีตลาดอนุพันธ์ สามารถเก็งว่าราคาจะขึ้น หรือราคาจะลงในอนาคต เช่นเดียวกับตลาด ข้าว ถ้าอยากลงทุนแบบ Short รู้ว่าราคา จะลง ก็ขายก่อนแล้วค่อยซื้อ แต่ถ้าลงทุนแบบ Long ก็ซื้อข้าวก่อนแล้วรอราคาขึ้นค่อยขาย มันท้าทายเราตลอดเวลา และราคาก็มีขึ้นลง ตลอด ต้องดูตัวเลขอุปทาน อุปสงค์ และ จับดูกราฟราคาข้าว และใช้เทคนิควิเคราะห์ การลงทุนที่เหมาะสมเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ แถมยังต้องดูอัตราแลกเปลี่ยน เพราะในตำแหน่ง ที่เรายืนเป็นทั้งผู้ส่งออกและผู้ขายในประเทศ ด้วย ทำให้เกิดกำไรขาดทุนได้ตลอดเวลา ความหวือหวานี่แหละคือเสน่ห์ของธุรกิจนี้ เราจึงอยู่นิ่งไม่ได้ ผมรู้สึกสนุกที่จะทำความ เข้าใจ และถ้ายังมีเรื่องที่ไม่รู้ ก็จะไปหาข้อมูล ใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อทำให้บริษัทมีกำไรหรือ รายได้เพิ่มขึ้น หรือลดอัตราสูญเสียลงให้ได้”

นอกจากใช้แนวคิดในการดำเนินธุรกิจและ นั่งบริหารงานประจำการอยู่ในออฟฟิศแล้ว วุฒิพลยังเลือกที่จะปฏิบัติการ “สำรวจ” ลงพื้นที่ ด้วยตนเอง เพราะถึงแม้จะมีเครื่องมือในการ ช่วยวิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูก กำหนดเวลา การเก็บเกี่ยว และตัวเลขสถิติต่างๆ จาก หลายๆ แหล่งแล้ว ตัวเขาเองก็จะออกไปดูพื้นที่ เพาะปลูกจริงและเยี่ยมโรงสีเองด้วย และบางครั้ง พบว่าข้อมูลค้านกับสถานการณ์จริง นั่นเป็น แต้มต่อทำให้เขาสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นบน พื้นฐานความเป็นจริง เพื่อจะได้รู้จังหวะเวลา ในการซื้อข้าวให้ได้ราคาทีต่ำ กว่าตลาด พร้อม ช่วงชิงโอกาสในการทำตลาดให้ได้

 

Bootstrap Image Preview
 
 
“ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ จะเป็นธุรกิจของที่บ้าน หรือสร้างขึ้นเอง เราต้องเคารพงานที่ทำ เราต้องเต็มร้อย กับสิ่งที่ทำอยู่ นี่คือชีวิตของเรา เราต้องอยู่กับมัน และทำให้ดีขึ้น”

 

สำหรับการสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อเพิ่ม ความแข็งแกร่งให้กับบริษัทนั้น ผู้บริหารหนุ่ม เจเนอเรชั่นที่ 5 เผยว่า สังเวียนนี้คือ “ตลาด เลือด” เป็นระบบราคากลางที่มีคู่แข่งทั้งใน และต่างประเทศหลายร้อยราย ทั้งยังมีคู่ต่อสู้ ที่น่ากลัว อย่างเวียดนามที่มีการพัฒนาตัวเอง และผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ หรือจาก การเปิดประเทศของพม่าที่มีศักยภาพของ พื้นที่เพาะปลูก ทำให้อาจกลับมาเป็นผู้ส่งออก รายใหญ่ได้อีกครั้ง โดยหากมองในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า คุณวุฒิพลให้ความเห็นว่า ตลาดรับจ้างผลิตให้ลูกค้า (OEM) จะมีความ ยากลำบากมากขึ้นอีก จะเกิดสงครามราคาที่ รุนแรง ฉะนั้นทางเดียวที่จะทะลุขีดจำกัดของ ธุรกิจได้ คือการสร้างแบรนด์ของตนเองให้ แข็งแกร่งทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบัน ชัยทิพย์ได้ผลักดันการทำการตลาดตราสินค้า “พนมรุ้ง” สำหรับตลาดในประเทศ และตรา ‘Qing Ling Zhi’ สำหรับตลาดฮ่องกง

“ตอนแรกที่เราเข้ามาทำตลาดในประเทศ ไทย เราเห็นว่าถ้าจะวางขายในห้างจะขายได้ ลำบากมากเพราะคู่แข่งมีหลายสิบแบรนด์ และเราก็จะไม่มีจุดเด่นอะไร เมื่อเราได้ทำวิจัย ก็ตัดสินใจเข้าตลาดร้านอาหารก่อน เราทำให้ เชฟมั่นใจใช้ของเราก่อน ซึ่งความโดดเด่นของ ข้าวแบรนด์นี้คือความนุ่มที่สม่ำเสมอเท่ากัน ตลอดทั้งปี ระหว่างที่อัตราส่วนข้าวต่อน้ำต้อง คงที่เช่นกัน จากนั้นเราก็ใช้จุดแข็งนี้มาสื่อสาร กับตลาดขายปลีก ว่าแม่บ้านก็สามารถหุงข้าว ได้อร่อยเหมือนเชฟมาเอง เป็นการสร้างความ แตกต่าง สำหรับการทำตลาดที่ฮ่องกงนั้น เรา ทำการตลาดแบบ Passive มานานกว่า 30 ปี โดยเราเน้นความสม่ำเสมอของรสชาติ ความ นุ่มและรูปลักษณ์ของข้าวที่ดี และสื่อสารให้ ลูกค้าไว้ใจว่า ซื้อข้าวตราเราไปทุกครั้ง คุณภาพจะเป็นหนึ่งในข้าวที่ดีที่สุดที่มาจาก ประเทศไทย

ปัจจุบันตลาดการค้าหลักของชัยทิพย์ ผ่านตัวแทนจำหน่าย กระจายอยู่ทั่วโลกทั้ง อเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และ มีเอเชียคือจีนและฮ่องกงเป็นตลาดหลัก นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นทำตลาดภายในประเทศ มากขึ้น โดยอัตราส่วนปัจจุบันระหว่างตลาด ต่างประเทศและตลาดในประเทศอยู่ที่ระดับ 50:50 ซึ่งผลพวงจากการทำงานของ นักบริหารรุ่นที่ 5 โดยยึดค่านิยมหลัก “ความ ซื่อสัตย์สุจริต” “ไว้เนื้อเชื่อใจ” และ “รักษา สัญญา” ที่ได้รับถ่ายทอดและหล่อหลอม แนวคิดจากผู้เป็นพ่อ ทำให้ไม่ว่าสถานการณ์ ตลาดข้าวจะผันแปร หรือราคาข้าวถีบตัวสูง ขึ้นเพียงใด ก็จะไม่คดโกงลูกค้าหรือกดขี่คู่ค้า ที่เป็นพันธมิตรร่วมกันมา ซึ่งเหล่านี้ทำให้ ลูกค้าเป็นคู่ค้ากับบริษัทมาอย่างยาวนานและ ทำให้บริษัทยืนหยัดมาได้นานนับศตวรรษ ทั้งคุณวิพุธและคุณวุฒิพลสามารถชุบชีวิตตัวเอง ขึ้นจากวิกฤติและปฏิวัติยอดขายจากอดีต เพียง 300 ล้านบาทให้กลายเป็นมูลค่า 2,000 ล้านบาทในปัจจุบัน พร้อมตั้งเป้าภายใน 3-5 ปี จะสร้างการเติบโตให้กับตลาดเดิมและแบรนด์ กว่า 60% ผ่านการทำตลาดเจาะลึกในฮ่องกง และตลาดค้าปลีกรายย่อยในประเทศ ควบคู่ กับการขยายโรงงานและโกดังจัดเก็บสินค้า เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในอนาคต

ทั้งนี้ ก็เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ข้าวไทยและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำ การค้าข้าวในตลาดโลก

ทิสโก้ แหล่งเพิ่มพูนทักษะการเงินทางธุรกิจ

“คุณพล-วุฒิพล หวั่งหลี” ผู้บริหารหนุ่มสุดสมาร์ทแห่งอาณาจักรค้าข้าวยักษ์ใหญ่ของไทย บริษัท ชัยทิพย์ จำกัดเ ขาเป็นลูกค้าคนสำคัญของทิสโก้อีกทั้งยังเคยเข้าร่วมโครงการ TISCO Wealth Enhancement Program หรือ “WEP” รุ่นที่ 4 ทำให้เขาได้คลุกคลีกับผู้เชี่ยวชาญ และเรียนรู้มุมมองต่างๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรของตนได้

“ผมว่า WEP เป็นโครงการทีดี่มาก ผมได้เจอวิทยากรเก่งๆ ที่มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ ต่างๆ ทำให้ได้ฟังมุมมองหลากหลายจากคนที่ทำงานการเงิน ซึ่งช่วยในการตัดสินใจใน การลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น รุ่นของผมเองก็มีความแข็งแรงด้านคอนเนคชั่น ผมได้เจอกลุ่มเพื่อน ที่ดีมากๆ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน ทำให้ได้พัฒนาความรู้และสามารถต่อยอด ความรู้ของผมเรื่องการลงทุนได้ ที่สำคัญพวกเรายังเป็นเพื่อนที่ดีจนถึงวันนี้ มีการพบปะ สังสรรค์ เจอกันนอกรอบ แลกเปลี่ยนไอเดียกันตลอดเวลา เป็นประสบการณ์ที่ดีมากครับ”